หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
เเถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือนพฤษภาคม 2562"

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC CONFIDENCE INDEX) เดือนพ.ค.62 จากการสำรวจความคิดเห็นของประธานหอการค้า และกรรมการหอการค้าของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ รวม 370 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 29 พ.ค.- 5 มิ.ย.62 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือนพ.ค.62 อยู่ที่ระดับ 47.4 ปรับตัวลดลงจากเดือนเม.ย.62 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 47.8 โดยปัจจัยลบที่ส่งผลต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย ได้แก่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/2562 ขยายตัว 2.8% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 3.6% จากการส่งออกลดลง และปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน, ความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาล และสถานการณ์ทางการเมืองมีความไม่แน่นอน และขาดเสถียรภาพ

การส่งออกของไทยเดือนเม.ย.62 ลดลง 2.57% ที่มูลค่า 18,555 ล้านดอลลาร์, SET Index ในเดือนพ.ค.62 ปรับตัวลดลง 53.30 จุด, ความกังวลต่อปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย, ความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพและราคาสินค้า-บริการทรงตัวอยู่ในระดับสูง และรายได้ไม่สมดุลกับค่าครองชีพในปัจจุบัน

ขณะที่ปัจจัยด้านบวก คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้, เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับ 31.860 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนเม.ย.62 เป็น 31.796 บาท/ดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนพ.ค.62 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามา ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้น จากการจัดงานเทศกาลวันหยุดต่างๆ, ปริมาณผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้
1. แก้ไขปัญหาค่าครองชีพของประชาชน ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคม
2.กระตุ้นการลงทุนของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายความเจริญสู่ชุมชนโดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลเขตเมือง

3.เร่งผลักดันระบบขนส่งคมนาคมของประเทศให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
4.ขยายตลาดการส่งออกสินค้าเกษตรในประเทศใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ
5.ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวตามชุมชน สินค้า OTOP ที่เป็นของชุมชนให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะในเมืองรอง

 


แหล่งที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
วันที่ลงข่าว : 20 มิ.ย. 2562
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting