หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
โตโยต้าเผยยอดขายรถยนต์ในระบบ9เดือนอยู่ที่ 1,034,287คัน เพิ่มขึ้น 3.4%
 นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนกันยายน 2556 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 94,945 คัน ลดลง 28.4%

ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 47,304 คัน ลดลง 30.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 47,641 คัน ลดลง 26.0% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 39,891 คัน ลดลง 29.1%

ตลาดรถยนต์เดือนกันยายนมีปริมาณการขาย 94,945 คัน ลดลง 28.4% โดยเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 47,304 คัน ลดลง 30.7% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 47,641 คัน ลดลง 26.0% รวมถึงรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 39,891 คัน ลดลง 29.1% สำหรับการลดลงของตลาดรถยนต์ในเดือนนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอส่งมอบรถยนต์ในหลายพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ประกอบกับการชะลอการตัดสินใจของลูกค้าที่รอการเปิดตัวของรถยนต์รุ่นสำคัญจากหลายค่ายในเดือนตุลาคม
          
ตลาดรถยนต์สะสม 9 เดือน มีปริมาณการขาย 1,034,287 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาโดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขายสะสมที่ 497,852 คัน เพิ่มขึ้น 10.3%

ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขายสะสมที่ 536,435 คัน ลดลง 2.3% อัตราการเติบโตของยอดขายสะสมยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากการปรับตัวเข้าสู่ภาวะการขายในระดับปกติ อย่างไรก็ดีการเปิดตัวของรถยนต์รุ่นใหม่หลายรุ่นในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมีส่วนทำให้ตลาดรถยนต์โดยรวมไม่ลดลงมากนัก

ตลาดรถยนต์ในเดือน ตุลาคม แนวโน้มทรงตัว แม้ว่าดัชนีการขายตามฤดูกาลจะชี้ว่าไตรมาสสุดท้ายจะมียอดขายสูงสุดและเดือนตุลาคมจะมียอดขายเป็นอันดับสองของไตรมาส ประกอบกับกิจกรรมส่งเสริมการขายและการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆในเดือนนี้จะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ แต่สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดอาจส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์โดยรวม

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนกันยายน 2556
          
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 94,945 คัน ลดลง 28.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 31,186 คัน ลดลง 33.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า 13,679 คัน ลดลง 29.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.4%
          อันดับที่ 3 อีซูซุ 11,923 คัน ลดลง 30.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 47,304 คัน ลดลง 30.7%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,725 คัน ลดลง 32.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า 12,678 คัน ลดลง 31.9% ส่วนแบ่งตลาด 26.8%
          อันดับที่ 3 นิสสัน 6,612 คัน ลดลง 36.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.0%

3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 39,891 คัน ลดลง 29.1%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,923 คัน ลดลง 34.3% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,307 คัน ลดลง 34.5% ส่วนแบ่งตลาด 25.8%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,067 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 10.2%
          *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,823 คัน
          โตโยต้า 2,017 คัน - มิตซูบิชิ 1,343 คัน - เชฟโรเลต 387 คัน - ฟอร์ด 42 คัน - อีซูซุ 34 คัน

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,068 คัน ลดลง 27.2%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,906 คัน ลดลง 33.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,273 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,724 คัน ลดลง 37.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 47,641 คัน ลดลง 26.0%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,461 คัน ลดลง 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,923 คัน ลดลง 30.1% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,067 คัน ลดลง 37.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.5%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กันยายน 2556
          1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 1,034,287 คัน เพิ่มขึ้น 3.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 333,899 คัน ลดลง 12.3% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า 176,938 คัน เพิ่มขึ้น 66.2% ส่วนแบ่งตลาด 17.1%
          อันดับที่ 3 อีซูซุ 161,336 คัน เพิ่มขึ้น 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%

          2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 497,852 คัน เพิ่มขึ้น 10.3%
          อันดับที่ 1 ฮอนด้า 159,568 คัน เพิ่มขึ้น 54.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.1%
          อันดับที่ 2 โตโยต้า 140,780 คัน ลดลง 15.8% ส่วนแบ่งตลาด 28.3%
          อันดับที่ 3 นิสสัน 60,430 คัน ลดลง 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

          3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 448,074 คัน ลดลง 6.8%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 178,469 คัน ลดลง 9.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 142,511 คัน เพิ่มขึ้น 3.7% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 44,358 คัน ลดลง 31.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
          *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 42,340 คัน
          โตโยต้า 22,562 คัน - มิตซูบิชิ 12,705 คัน - เชฟโรเลต 5,339 คัน - อีซูซุ 1,350 คัน - ฟอร์ด 384 คัน

          4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 405,734 คัน ลดลง 5.3%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 155,907 คัน ลดลง 9.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 141,161 คัน เพิ่มขึ้น 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.8%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 31,653 คัน ลดลง 28.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.8%

          5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 536,435 คัน ลดลง 2.3%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 193,119 คัน ลดลง 9.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.0%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 161,336 คัน เพิ่มขึ้น 7.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 44,358 คัน ลดลง 31.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ลงข่าว : 21 ต.ค. 2556
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting