หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
ทุนไหลเข้า1ล้านล้าน ธปท.ชี้ดอกเบี้ยขาขึ้น
ธปท.ย้ำดอกเบี้ยไทยขาขึ้น "ประสาร" แจงเงินไหลเข้าแล้วเฉียด 1 ล้านล้านบาท "บัวหลวง" ลั่นคุม NIM ที่ 3% นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางนโยบายการเงินของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ว่า นโยบายการเงินยังเป็นอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เพียงแต่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะต้องพิจารณาถึงจังหวะการปรับขึ้นอย่างเหมาะสม เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงหลายตัวเกี่ยวข้อง โดยสาเหตุที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นขาขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจไทยได้กลับเข้าสู่การขยายตัวปกติ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อการเร่งตัวของเงินเฟ้อ ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงปีหน้า ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำอาจเป็นตัวเร่งภาวะฟองสบู่อีกด้วย "ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน มีเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าไทยประมาณ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้ สัดส่วน 40% มาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เหลือ 60% มาจากการเข้าลงทุนในตลาดหุ้น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนในตลาดตราสารหนี้เป็น 3 เท่าของการลงทุนในหุ้น และที่เหลือเป็นการลงทุนในสินทรัพย์อื่น" นายประสารกล่าว นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เปิดเผยว่า ธนาคารจะรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยรับและจ่ายสุทธิ (NIM) ไว้ในระดับปัจจุบันที่ 3.0% จนถึงปี 2554 ซึ่งเป็นระดับที่ทรงตัวจากปี 2552 ด้านธนาคารกรุงไทยได้ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Tier I) ไม่มีกำหนดอายุของหุ้นกู้ โดยธนาคารมีสิทธิ์ไถ่ถอนเมื่อครบปีที่ 5 จำนวนไม่เกิน 9,000 ล้านบาท เสนอขายให้กับผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน จ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.15% ต่อปี ทุกๆ 6 เดือน.
วันที่ลงข่าว : 9 ธ.ค. 2553
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting