หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
กบง.ซีดกองทุนติดลบเพิ่ม 698 ล.
 กบง.ลดชดเชยราคาดีเซลลง 60 สตางค์ต่อลิตร หลังราคาน้ำมันตลาดโลกเริ่มลดลง เชื่อกรอบเงินกู้ 3 หมื่นล้านบาทยังช่วยพยุงราคาพลังงานได้อีก 8 เดือน แม้เงินกองทุนน้ำมันฯ จะเริ่มติดลบมากขึ้นเป็น 698 ล้านบาท
    นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า ที่ประชุมมีมติปรับลดเงินชดเชยราคาดีเซลลง 60 สตางค์ต่อลิตร เนื่องจากราคาน้ำมันดูไบในตลาดโลกลดลงกว่า 4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 104.26 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ค่าตลาดผู้ค้าน้ำมันสูงเกินกว่าที่ควรได้ 1.50 บาทต่อลิตร ดังนั้นกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงปรับลดเงินชดเชยดีเซลลง ซึ่งไม่ทำให้ราคาน้ำมันดีเซลหน้าปั๊มเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด
    อย่างไรก็ตาม การปรับลดเงินชดเชยดังกล่าว ส่งผลดีให้กองทุนฯ มีเงินไหลออกลดลง 33 ล้านบาทต่อวัน เหลือ 125 ล้านบาทต่อวัน ส่วนสถานะกองทุนฯ สุทธิโดยรวมยังคงติดลบและเพิ่มขึ้นเป็น 698 ล้านบาท จากเดิมติดลบ 103 ล้านบาทเนื่องจากราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ยังทรงตัวระดับสูง และกองทุนฯ ต้องนำเงินไปชดเชยแอลพีจีกว่า 4,000 ล้านบาทต่อเดือน ดังนั้นกรอบวงเงินกู้ 3 หมื่นบาทที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ผ่านมาจะสามารถดูแลเสถียรภาพราคาพลังงานได้อีก 8 เดือนนับจากนี้    ทั้งนี้ กบง.ยังได้แจ้งให้ผู้ค้าน้ำมันพิจารณาลดราคาน้ำมันหน้าปั๊มกลุ่มเบนซินและโซฮอล์ลงตามราคาตลาดโลกด้วย หลังพบว่าค่าการตลาดผู้ค้าน้ำมันปรับสูงขึ้นกว่า 2 บาทต่อลิตร จากค่าการตลาดที่ควรได้ 1.50 บาทต่อลิตร ซึ่งอยู่ที่ดุลพินิจของผู้ค้าน้ำมันว่าจะเริ่มปรับลดลงได้ในวันใด 
    สำหรับสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงเนื่องจากประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่น อิรัก ลิเบียและรัสเซีย เพิ่มการผลิตน้ำมันเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น และแม้สหรัฐจะเผชิญกับภัยหนาวที่ต้องการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อสร้างความอบอุ่น แต่สหรัฐก็สามารถผลิตน้ำมันได้เองจากน้ำมันชั้นหินดินดาน (เชลล์ออยล์) ที่ค้นพบ 
    ดังนั้น แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกจึงทยอยปรับลดลง แต่ปัจจัยที่ต้องจับตามองคือการอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งทำให้ต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อน้ำมันในปริมาณเท่าเดิม ขณะที่ราคาแอลพีจีโลกเริ่มมีแนวโน้มปรับลดลงเช่นกัน โดยราคาตลาดล่วงหน้าเดือน ก.พ.2557 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 903 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากเดิมคาดว่าจะอยู่ถึง 976 เหรียญสหรัฐต่อตัน.
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโำำพสต์
วันที่ลงข่าว : 8 ม.ค. 2557
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting