หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
ผลสำรวจ "สถานภาพผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รับจ้าง"
 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลสำรวจสถานภาพผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์รับจ้างจากกลุ่มตัวอย่าง 1,243 ราย ขณะที่มีผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ (วินมอเตอร์ไซค์) ที่ได้รับใบอนุญาตทั่วประเทศ 185,000 ราย พบว่ากลุ่มวินมอเตอร์ไซค์มีรายได้เฉลี่ย 974.81 บาทต่อวัน หรือ 24,370.25 บาทต่อเดือน และมีต้นทุนค่าน้ำมัน ค่าผ่อนรถ ค่าเช่าเสื้อวินถึง 11,633 บาทต่อเดือน ถือเป็นภาระที่หนักมาก โดยเหลือกำไรจากการขับวิน 12,736.61 บาทต่อเดือน ต้องใช้ดูแลคนในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน “วินมอเตอร์ไซค์ต้องขับรถเพื่อหารายได้ 25 วันต่อเดือน เฉลี่ยวันละ 41 เที่ยว ทำงาน 9 ชั่วโมงต่อวัน กว่า 79.57% ขับวินเป็นอาชีพหลัก และยังพบว่าวินเกือบทั้งหมดไม่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน ดังนั้นแนวทางช่วยค่าน้ำมันผ่านบัตรคนจนอาจเป็นการช่วยไม่ตรงจุด”

ทั้งนี้ วินมอเตอร์ไซค์ส่วนใหญ่หรือ 69.40% มีภาระหนี้เฉลี่ย 185,000 บาท ต้องผ่อนชำระ 5,266 บาทต่อเดือน ส่วนแนวทางการกู้เงินในอนาคตกว่า 26.92% อยากกู้เงินในระบบเพื่อซื้อรถใหม่ สอดคล้องกับนโยบาย “บสย.รักพี่วิน” ที่บรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อซื้อรถคันใหม่ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง 27.49% เข้าร่วมโครงการแล้ว เพราะเห็นว่าดอกเบี้ยถูก ลดค่าใช้จ่ายและได้สิทธิประโยชน์ สามารถผ่อนได้เพียง 151.12 บาทต่อวัน ขณะที่อีก 31.66% ต้องการกู้เพื่อไปชำระหนี้เก่า นำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและเสริมสภาพคล่อง โดยทั้งหมดต้องการกู้เงินในระบบเฉลี่ยคนละ 230,000 บาท แต่กลุ่มที่ต้องการกู้เงิน 53.02% ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ เพราะขาดหลักประกัน ไม่มีประวัติการเงิน และไม่รู้จะติดต่อธนาคารอย่างไร

“พี่วิน 64.20% ไม่ได้ใช้แอปพลิเคชันเพื่อรับผู้โดยสารทำให้ลูกค้าลดลง ส่วนกลุ่มที่ใช้แอปฯบริการลูกค้ามีรายได้เพิ่มเฉลี่ย 1,741.95 บาทต่อเดือน ปัญหาที่ผู้ใช้บริการพบมากสุด คือ ทะเลาะวิวาทแย่งลูกค้ากับแกร็บไบค์ ค่าโดยสารสูงเกินควร วินรถเถื่อนไม่มีใบอนุญาต บริการไม่สุภาพ จอดรถบนทางเท้า ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ต้องการได้จากรัฐ คือ 1.คุมราคาสินค้า ค่าน้ำมัน ค่าเช่าเสื้อวิน ค่าสินค้าทั่วไป 2.ปรับค่าโดยสาร 3.จัดระเบียบและบทลงโทษให้เคร่งครัด 4.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเข้าถึงง่าย ส่วนสิ่งที่ต้องการได้รับจากธนาคารรัฐ 1.ปล่อยกู้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือลดดอก 2.เพิ่มสินเชื่อโดยไม่มีหลักประกัน 3.ให้มีขั้นตอนง่ายขึ้น.

แหล่งที่มา : ไทยรัฐ
วันที่ลงข่าว : 1 มี.ค. 2562
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting