หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
คลังถก กกต.ต่ออายุภาษีดีเซล หวั่นขึ้นพรวด 5 บาท กระทบชาวบ้าน
  คลังดิ้นถก กกต. หาช่องขยายมาตรการลดภาษีดีเซลต่อ หลังจะหมดอายุ 31 ธ.ค.นี้ หวั่นราคาพุ่งพรวด 5 บาทต่อลิตร เป็นภาระค่าครองชีพประชาชน ฉุดเศรษฐกิจปี 57 ดิ่งเหว
    แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การคลัง อยู่ระหว่างเตรียมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้พิจารณาเห็นชอบต่ออายุมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จากลิตรละ 5.31 บาทต่อลิตร เหลือ 0.005 บาทต่อลิตร หลังจากที่มาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.นี้ เนื่องจากรัฐบาลรักษาการไม่สามารถต่ออายุมาตรการดังกล่าวได้เองอีกต่อไป ซึ่งจะทำให้ต้องกลับไปใช้อัตราเดิม และจะทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกดีเซลในตลาดปรับขึ้นทันทีในวันที่ 1 ม.ค.2556 เท่ากับอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น
    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเห็นว่า หากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลไม่ได้รับการเห็นชอบจาก กกต. จะส่งผลกระทบกับต้นทุนค่าขนส่งสินค้าของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศเร่งตัว กระทบเศรษฐกิจในปีหน้าให้มีปัญหารุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะมีความเปราะบางอยู่แล้ว จากเศรษฐกิจปีนี้ที่ล่าสุดคาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ถึง 3% ต่อปี และยังมีปัญหาการเมืองที่มีแนวโน้มยืดเยื้อไปถึงปีหน้า
    อย่างไรก็ตาม การขออนุมัติจาก กกต.ครั้งนี้ยังมีปัญหาอีกว่า จะขอลดภาษีสรรพสามิตน้ำดีเซลครั้งละเดือนเหมือนที่รัฐบาลทำมา หรือจะขอครั้งละเดือนเป็นเวลาหลายเดือนให้นานพอที่คาดว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นห่วงว่าจะไม่ได้รับการอนุมัติจาก กกต. จึงพยายามหาทางเจรจากับ กกต. ให้ได้ข้อสรุปก่อนวันที่ 31 ธ.ค.นี้
    "ความผิดพลาดนโยบายลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพราะลดทีละเดือนมาเป็นเวลากว่า 2 ปี โดยที่ไม่ทยอยปรับเพิ่มภาษีขึ้นบ้างตามข้อเสนอของกรมสรรพสามิตที่ผ่านมา และเมื่อต้องมายุบสภาโดยที่ไม่ตั้งตัวมาก่อน ทำให้เกิดปัญหาขึ้นตามมา" แหล่งข่าวกล่าว
    แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า หาก กกต.ไม่อนุมัติให้ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ก็ต้องใช้วิธีให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ของกระทรวงพลังงานชดเชยราคา ซึ่งก็จะมีปัญหาทำให้เงินกองทุนน้ำมันฯ ติดลบอย่างรวดเร็ว เพราะหากต้องชดเชยราคาน้ำมันดีเซลกว่า 5 บาทต่อลิตร จะต้องใช้เงินเดือนละ 9 พันล้านบาท เท่ากับเงินภาษีที่กรมสรรพสามิตต้องสูญเสียไปจากการลดภาษีดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมา 2 ปีกว่า กรมสรรพสามิตสูญเสียเงินลดภาษีน้ำมันดีเซลไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท
    นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกว่า กองทุนน้ำมันฯ ภายใต้รัฐบาลรักษาการสามารถกู้เงินมาโปะการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลได้หรือไม่ ถ้าหากไม่ได้ก็ไม่มีทางแก้ สุดท้ายก็ต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นตามอัตราภาษีที่ต้องกลับไปใช้อัตราเดิม
    รายงานข่าวจากระทรวงการคลัง ระบุว่า การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลดังกล่าวดำเนินการมาตั้งแต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ในเดือน เม.ย.2554 และจนถึงขณะนี้เป็นเวลา 33 เดือน หรือเกือบ 3 ปี โดยการภาษีดีเซลทำให้รัฐสูญเสียรายได้เดือนละ 9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าภาษีที่สูญเสียไปราว 3 แสนล้านบาท.
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโำำพสต์
วันที่ลงข่าว : 17 ธ.ค. 2556
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting