หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
ปลัดอุตฯ ชี้ทิศทางอนาคต SMEs ไทย
 ปลัดกระทรวงอตุสาหรรม ชี้แนะ SMEs  ธุรกิจจะยั่งยืนได้ต้องต่อยอดพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสังคม   ต้องคิดสร้างสรรค์ปั้นเป็นองค์ความรู้ของตนเองอย่างแท้จริง  ภาครัฐให้การสนับสนุนเต็มที 5 ปีแรกส่งเสริมให้ปรับฐานสู่ AEC  อีก 10 ปีต่อมาเป็นห่วงโซ่อุปทานครบวงจรของอาเซียน  ท้ายสุด 20 ปี ต้องมีตราสัญญลักษณ์ของตัวเองบนมาตรฐานเดียวกันในระดับโลก


นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวบรรยายพิเศษหัวข้อ “นโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมกับการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs”  ให้กับนักบริหาร SMEs ในการปิดการอบรมหลักสูตรนักบริหาร SMEs ระดับสูง (SMEs Advance ) ภายใต้โครงการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการธุรกิจ SMEs ของ สสว.  เมื่อเร็วๆ นี้ว่า  กระทรวงอุตสาหกรรมวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในระยะ 20 ปีข้างหน้า  เป็นไปตามกรอบแผนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ  ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีนโยบายชัดเจน  ต้องการพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากกลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยในระดับปานกลาง ก้าวข้ามไปสู่ประชากรของประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้น  ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดความเสมอภาค    เป็นมิตรและไม่สร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อม โดยทางภาครัฐได้ปรับกระบวนการด้านต่างๆโดยบูรณาการส่งเสริมให้เอกชนเติบโตและอยู่รอดต่อไปได้  

ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)ที่ครบวงจร ตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ  และยึด  นโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ชี้ว่าสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ไทยในปัจจุบันนี้ จะเติบโตและพัฒนาต่อไปข้างหน้าได้ ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง สร้างประสิทธิภาพการผลิต(Productivity)และสร้างพันธมิตรรอบตัวใหม่ๆให้มากขึ้น เพราะรอบตัวทุกด้านถูกกำหนดจากหลายปัจจัยภายนอกต่างๆ รวมทั้งการเมือง และกระแสโลกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ต่างเป็นปัจจัยบีบคั้นให้ผู้ประกอบการต้องร่วมกันพัฒนา  ขณะที่ผู้บริโภคได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างทั่งถึงจากคู่แข่งมากขึ้น  เทคโนโลยีของเก่าที่มีอยู่แบบเดิมไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้  หาก SMEs ไม่ตัดสินใจที่จะก้าวไปก็จะไม่ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก  ธุรกิจ SMEs จึงมีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งหมดจึงเกิดความท้าทายใหม่ให้กับวงการผู้ประกอบการ SMEs ของไทย

นายวิฑูรย์ กล่าวถึงจุดปลายทางสุดท้ายในอีก 20 ปีข้างหน้าว่าคือ การพัฒนาอย่างยั่งยืน  สร้างสรรค์อุตสาหกรรมบนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากความรู้ของเราที่แท้จริงไม่กลัวว่าคนอื่นจะเลียนแบบได้  และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดย   5 ปีแรกจะเป็นการปรับฐานเตรียมความพร้อม SMEs เข้าสู่ AEC เพื่อก้าวสู่มาตรฐานโลกต่อไป อีก 10 ปีต่อไปจะเป็นผู้จัดการห่วงโซ่อุปทานครบวงจรของอาเซียน  และจุดหมายปลายทางในอีก20 ปีถัดไป คือ การมีสินค้าไทยที่มียี่ห้อของไทยเราเองออกไปขายทั่วโลก  

นายวิฑูรย์ กล่าวเสริมอีกว่า  สิ่งที่ SMEs ต้องดำเนินการและเป็นดัชนีชี้ที่สำคัญต่อศักยภาพของ SMEs ไทย คือนอกจาก จะบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนกระบวนการภายในให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เร็วแล้ว  สิ่งที่ SMEs  ต้องทำเพิ่มคือ ความรับผิดชอบต่อสังคม และการคิดสร้างสรรค์นวตกรรมในสิ่งใหม่ๆ  บนพื้นฐานที่ SMEs  ต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง  แบบยั่งยืนสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งที่ดีของสังคม

“ขณะนี้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและบีโอไอ กำลังดำเนินการออกเป็นมาตรฐานการส่งเสริมธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือธุรกิจSMEs ให้แข่งขันในต่างประเทศได้ คาดว่าจะประกาศได้ในปลายปี 2557 โดยเฉพาะเรื่องเครื่องหมายสีเขียว ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ต่างชาติมี   และหากผู้ประกอบการไทยไม่มี จะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถอยู่รอดได้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ตั้ง เป้าหมายยกระดับ SMEs ไทยจำนวน 70,000 โรงงานเข้าสู่บันไดขั้นแรกของอุตสาหกรรมสีเขียวให้เร็วที่สุด”

แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ลงข่าว : 30 ต.ค. 2556
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting