หน้าแรก
|
เกี่ยวกับหน่วยงาน
|
อัลบั้มภาพ
|
ติดต่อเรา
|
สมาชิก
วัสดุก่อสร้างจ่อขึ้นรับดีมานด์หลังน้ำท่วม
กรุงเทพธุรกิจ” สำรวจความเคลื่อนไหวราคาวัสดุก่อสร้างหลัก และวัสดุตกแต่งทั้งปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น และกระเบื้อง สุขภัณฑ์ พบมีการทยอยปรับราคาขายขึ้นทุกหมวด โดยปูนซีเมนต์ (ถุง)ปรับราคาขายขึ้น 2 รอบในช่วงกลางเดือนส.ค.-ก.ย.ที่ผ่านมา ราคาปูนซิเมนต์ปรับขึ้น 200-300 บาท/ตัน โดยการปรับขึ้นราคาในรอบนี้ เป็นการปรับขึ้นพร้อมกันทั้ง 3 ผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้ง ปูนซิเมนต์ไทย, ปูนซิเมนต์นครหลวง และปูนทีพีไอ ซึ่งคาดว่าราคาปูนฯจะยังคงรักษาระดับได้ในช่วงที่เหลือของปี ขณะที่ราคาเหล็กเส้น บางพื้นที่อาจมีการปรับราคาขายขึ้นแต่ราคาน่าจปรับขึ้นทั้งระบบในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ส่วนวัสดุก่อสร้างในหมวดตกแต่ง เช่น กระเบื้องเซรามิค สุขภัณฑ์ ได้ปรับราคาขายขึ้นมาแล้วในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ 4-5% อย่างไรก็ดี ความกดดันของค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้า ประกอบกับช่วงไตรมาส 4 ของทุกปีที่เข้าสู่ฤดูกาลของการขายสินค้า แต่เนื่องจากประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้โอกาสในการทำการตลาดลดลง ปริมาณการใช้หดตัวลง แต่หลังเหตุการณ์น้ำท่วมแล้ว เชื่อว่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างกลับมาอีกครั้ง ส่งสัญญาณปรับราคาอีกรอบต้นปี54 นายศิวะ มหาสันทนะ รองประธานอาวุโสสายงานคอนกรีตผสมเสร็จ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ( มหาชน ) เปิดเผยว่า หลังจากปัญหาน้ำท่วมคลี่คลาย เชื่อว่าตลาดรวมวัสก่อสร้างรวมถึงตลาดคอนกรีตผสมเสร็จ จะเติบโตค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งมาจากประชาชนมีการซ่อมแซม ปลูกสร้างบ้านใหม่ งานก่อสร้างซ่อมแซมระบบสาธารณูปโภค โครงการก่อสร้างของภาครัฐและเอกชนมีการเดินหน้าก่อสร้าง หลังต้องชะลอไปในช่วงน้ำท่วม “ราคาจะมีการปรับขึ้นหรือไม่ หรือหากปรับขึ้น จะเป็นเท่าไหร่ คงยังระบุไม่ชัด” นายศิวะ กล่าวและว่า การปรับขึ้นราคาขายนั้น จะต้องพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านต้นทุน ทั้งต้นทุนพลังงาน และต้นทุนการขนส่ง ซึ่งคงต้องรอดูสถานการณ์อีกครั้ง ความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับ นายกิตติชัย ไกรก่อกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โสสุโก้ แอนด์ กรุ๊ป (2008) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค “โสสุโก้” กล่าว่า จากนี้ไปต่อเนื่องไปจนถึงปี 2554 ตลาดวัสดุก่อสร้างทั้งวัสดุหลัก และวัสดุตกแต่ง น่าจะขยายตัวตามปริมาณความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มราคาน่าจะปรับขึ้น ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าน้ำมันที่ขณะนี้ แตะที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล ต้นทุนดังกล่าว ยังคงพอแบกรับได้ แต่หากมีการปรับราคาขึ้นมาอีก 20 ดอลลาร์จะกระทบต่อต้นทุนมาก ทั้งด้านการผลิตและต้นทุนขนส่ง ระดับราคาที่ขายคงต้องปรับเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5% ส่วนผลกระทบด้านการขายและการตลาด จากความเสียของสินค้าภาคการเกษตรคาดว่าผู้บริโภคกระทบต่ออัตรารายได้ของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนภาคการเษตรในต่างจังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม แม้จะมีการปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน แต่คงเลือกใช้วัสดุเท่าที่จำเป็น ลดการซื้อวัสดุตกแต่ง ผลกระทบดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ตลาดกระเบื้องหายไป 1-2% ในช่วงปลายปีนี้ หรืออาจต่อเนื่องไปถึงปี 2554 ที่คาดว่าจะปริมาณการใช้น่าจะเติบโตอยู่ที่ 7-8% จากปี 2553 ที่คาดว่าปริมาณการใช้โดยรวมน่าอยู่ที่ 130 ล้านตร.ม. “ตลาดกระเบื้องปีนี้ เผชิญกับพิษค่าบาทที่แข่งค่า ทำให้กระทบต่อการส่งออก ขณะเดียวกัน ก็มาเจอกับภัยธรรมชาติ แม้จะมีความต้องการแต่ทำให้ขีดความสามารถในการบริโภคของประชาชนลดลง“นายกิตติชัย กล่าว อิฐมวลเบาพุ่งแทนอิฐมอญ นอกจากนี้ปัญหาน้ำท่วม ยังได้ทำให้เกิดความเสียหายกับผู้ผลิตอิฐมอญ ที่แหล่งผลิตใหญ่อยู่ในภาคกลาง เช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำๆ ทุกปี ทำให้โรงงานผลิตอิฐมอญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก เกิดความเสียหาย อนาคตอาจทำให้สินอิฐมอญมีน้อยลง สวนทางกับวัสดุก่อสร้างประเภทอิฐมวลเบา ที่ขณะนี้ผู้ผลิตล้วนเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ทำให้คาดว่าปริมาณการใช้น่าจะเพิ่มมากขึ้น รวมถึงตลาดน่าจะมีการขยายฐานจากเดิมเน้นโครงการจัดสรร แต่จากนี้ไปประชาชนทั่วไปน่าจะใช้เริ่มใช้ แต่ยังติดขัดที่ราคาขายสูง วัสดุหลักอีกตัวคือ ทราย สำหรับงานก่อสร้าง ขณะนี้ไม่มีปัญหาขาดแคลน และราคายังไม่มีการปรับขึ้นโดยตรง เว้นแต่ว่าต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ซึ่งต้องมีการคิดค่าขนส่งเพิ่มโดยพิจารณาจากระยะทางเป็นหลัก
วันที่ลงข่าว :
29 ต.ค. 2553
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล:
[email protected]
หน้าแรก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข่าวและกิจกรรม
งานวิจัย
บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ
ดัชนี
หอการค้าโพลล์
AEC
สถิติ
ดาวน์โหลด
อัลบั้มภาพ
ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting