หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
พาณิชย์เผย เม.ย.57 ส่งออกหดตัว 0.87%,นำเข้าลดลง 14.54%
 กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย มูลค่าการส่งออกในเดือน เมษายน 2557 อยู่ที่ 17,249.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง 0.87% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าอยู่ที่ 18,702.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง 14.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล  1,453.4  ล้านดอลลาร์สหรัฐ
     
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-เม.ย.57) การส่งออกมีมูลค่า 73,460.5 ล้านดอลลาร์ ลดลง 0.97%  เป็นการชะลอตัวในอัตราที่ลดลงเป็นลำดับ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 ขณะที่การนำเข้า มูลค่าอยู่ที่ 74,208 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง 15.19 % ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลทั้งสิ้น 747.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกสินค้า

ข้าว : หลายประเทศมีความต้องการนำเข้าข้าวมากขึ้น อาทิ โมซัมบิก แคเมอรูน และแอฟริกาใต้ ประกอบกับราคาขายข้าวไทยต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ในขณะเดียวกันไทยเร่งเจรจาขายข้าวในทุกตลาดที่เคยขายได้ เช่น แอฟริกาใต้ เป็นต้น

ยางพารา : อินเดียนำเข้ายางเพิ่มขึ้น เพราะได้รับผลกระทบจากมรสุม ทำให้มีฝนตกหนัก ผลผลิตในประเทศจึงลดลง อีกทั้ง ราคายางในตลาดโลกต่ำกว่าราคายางในประเทศอินเดีย ส่งผลให้อินเดียนำเข้ายางเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศผู้นำเข้าหลัก เช่น จีน มาเลเซีย และญี่ปุ่นยังคงชะลอการนำเข้า จากสต็อกยาง
ในประเทศที่ยังคงมีอยู่ในระดับสูง

ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง : จีน ซึ่งเป็นคู่ค้าที่สำคัญมีความต้องการใช้มันเส้นและแป้งมัน
ในอุตสาหกรรมอาหาร และพลังงานอย่างต่อเนื่อง

อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป : ชะลอตัวเพราะการส่งออกกุ้งแช่แข็งและแปรรูปที่ลดลง เนื่องจากผลผลิตกุ้งลดลง จากโรคตายด่วน (EMS) ประกอบกับไทยประสบปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมกุ้ง และอาหารทะเลแปรรูป

ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป : ความต้องการผักกระป๋อง โดยเฉพาะข้าวโพดหวานกระป๋อง ในสิงค์โปร์ ตุรกี และเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลไม้สด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย เป็นต้น
มีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล จึงสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น

ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป : สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีความต้องการนำเข้าไก่สดแช่เย็น แช่แข็งเพิ่มขึ้น หลังยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง  ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องการนำเข้า
ไก่ต้มสุกเพิ่มสูงขึ้น หลังจากอนุญาตให้ไทยสามารถส่งออกไก่ต้มสุกไปยัง UAE ได้แล้ว

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ : การหดตัวของสินค้าเนื่องมากจากการหดตัวในตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ตลาดสหรัฐอเมริกา และจีน ปัจจัยสำคัญที่ยังคงส่งผลกระทบต่อการส่งออกคือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเติบโตของ Smart Phone และ Tablet ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) นอกจากนี้
ส่วนหนึ่งเกิดจากการย้ายฐานการผลิตของ Toshiba ที่ย้ายสายการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ในไทยทั้งหมดไปจีน

สิ่งทอ :  การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การได้รับอานิสงส์จากคำสั่งซื้อเครื่องแต่งกายและประเภทเสื้อกีฬาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
เพื่อรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายนนี้ รวมทั้งตลาดจีนและเกาหลีใต้นำเข้าเพิ่มขึ้น

ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ :  ผลจากการหดตัวของตลาดหลัก เช่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซียและแอฟริกาใต้  โดยในส่วนของตลาดออสเตรเลีย ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในที่ซบเซาทำให้ความต้องการนำเข้าทั้งรถยนต์สำเร็จรูปและส่วนประกอบ/อุปกรณ์รถยนต์ลดลง
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ลงข่าว : 29 พ.ค. 2557
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting