หน้าแรก
|
เกี่ยวกับหน่วยงาน
|
อัลบั้มภาพ
|
ติดต่อเรา
|
สมาชิก
สสว. รายงาน สถานการณ์ SMEs 4 เดือนแรก
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) รายงาน สถานการณ์ SMEs 4 เดือนแรกของปี 2557 (มกราคม-เมษายน) ดังนี้
การค้าระหว่างประเทศของ SMEs ในช่วง 4 เดือน (มกราคม-เมษายน)
การส่งออกของ SMEs มีมูลค่ารวม 600,636.17 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.3 ของการส่งออกรวมของประเทศ
-สินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด ได้แก่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ คิดเป็นมูลค่า 94,193.10 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์พลาสติกและของทำด้วยพลาสติก และหมวดเครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
-ตลาดที่มีการส่งออกสูงสุด ได้แก่ จีน คิดเป็นมูลค่า 68,446.82 ล้านบาท รองลงมาคือญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ
การนำเข้าของ SMEs มีมูลค่า 686,948.33 ล้านบาท หดตัวลดลงร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.3 ต่อการนำเข้ารวม
-สินค้าที่มีการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่า 110,949.90 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดเครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ
-ตลาดที่ SMEs มีการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ จีน คิดเป็นมูลค่า 145,925.18 ล้านบาท รองลงมาคือ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ตามลำดับ
การจัดตั้งและยกเลิกกิจการ ในช่วง 4 เดือน (มกราคม-เมษายน)
การจัดตั้งกิจการ
มีจำนวนทั้งสิ้น 19,684 ราย หดตัวลงร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน ธุรกิจที่จัดตั้งใหม่สูงสุด ได้แก่ หมวดการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย มีจำนวน 2,069 ราย ทุนจดทะเบียนมูลค่า 5,569 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่พักอาศัย และหมวดขายส่งเครื่องจักร ตามลำดับ
การยกเลิกกิจการ
มีจำนวน 3,731 ราย ขยายตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ธุรกิจยกเลิกกิจการสูงสุด ได้แก่ หมวดกิจกรรมขายสลากกินแบ่ง มีจำนวน 482 ราย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนมูลค่า 246 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย และหมวดอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่พักอาศัย ตามลำดับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
ปัจจัยบวก
1.การปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและประมาณการค้าโลกที่ขยายตัวมากขึ้น เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกมีโอกาสที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.แรงกดดันด้านราคาน้ำมันและเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เอื้ออำนวยต่อนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยเสี่ยง
1.ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว จากการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
2.แรงขับเคลื่อนจากอุปสงค์ภาครัฐยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากการใช้จ่ายภายใต้แผนการลงทุนภาครัฐทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ระบบบริหารจัดการน้ำ ฯลฯ
3.อุปสงค์ภาคเอกชนยังมีข้อจำกัดในการขยายตัว ผลจากข้อจำกัดในการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มอ่อนตัวโดยเฉพาะราคาข้าว ความเข้มงวดในการปล่อนสินเชื่อของสถาบันการเงิน เป็นต้น
4.ผลผลิตทางการเกษตรมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ลงข่าว :
2 มิ.ย. 2557
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล:
[email protected]
หน้าแรก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข่าวและกิจกรรม
งานวิจัย
บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ
ดัชนี
หอการค้าโพลล์
AEC
สถิติ
ดาวน์โหลด
อัลบั้มภาพ
ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting