หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
4 เดือนส่งออกจากไทยไปอียูเพิ่ม 4.9% พบ'อิตาลี'แนวโน้มใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
 นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สคร.) ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี แจ้งว่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหภาพยุโรป (อียู)ในช่วง 4 เดือนแรก(ม.ค.-เม.ย.)ปีนี้ ส่งออกเพิ่มขึ้น 4.9 % หรือ มีมูลค่า 6,813 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 220,087 ล้านบาท) และมีแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น โดยจากการศึกของศูนย์วิจัยฟินโดเมสติก(FINDOMESTIC) ของอิตาลีพบว่าอัตราการใช้จ่ายสินค้าคงทนของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า

สำหรับสินค้าที่จะมีอัตราการบริโภคเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ กล้องถ่ายรูปดิจิตอลและวีดิโอคอมพิวเตอร์ เครื่องยนต์ใหม่(เพิ่มขึ้นเล็กน้อย) เครื่องยนต์มือสอง(เพิ่มขึ้นมากกว่า) การซื้อบ้านหลังใหม่และซ่อมแซมบ้านหลังเก่า เฟอร์นิเจอร์ (เพิ่มขึ้นเล็กน้อย) และสินค้าที่นำมาประกอบเอง

“สำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลี(ISTAT)พบว่า เดือนเมษายน57 ดัชนีความเชื่อมั่นสำหรับผู้บริโภค ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจะเพิ่มขึ้นในทุกๆ ด้านทั้งในระดับบุคคลและระดับประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจะลดลง ส่วนอัตราการว่างงานยังคงที่  สำหรับผู้ขายแล้ว โดยภาพรวมแล้วมีอัตราเพิ่มขึ้น ยอดขายทั้งในปัจจุบันและอนาคตคาดว่า จะเพิ่มขึ้นระดับสินค้าในสต็อกจะมีอัตราคงที่ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของร้านค้าจะเพิ่มขึ้นทั้งร้านค้าปลีกทั่วไปเพิ่มขึ้นมาก
และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ตรงกันข้ามกับแนวโน้มโดยปกติ”

ส่วนสถิติการส่งออกสินค้าไทยไปอียู 4 เดือนแรก การส่งออกเพิ่มขึ้น 4.9 % นั้น สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอัญมณีและเครื่องประดับ  เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ส่วนการนำเข้าจากไทยไปอียูลดลง 10.2% หรือ มีมูลค่า 6,219ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (203,120 ล้านบาท) สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เหล็กเหล็กล้า และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

นางปทมา สิงหรา ณ อยุธยา ผอ.สคร. ณ กรุงโรม กล่าวถึง ยุทธศาสตร์การดำเนินกลยุทธ์ในสินค้าสำหรับผู้สูงอายุว่ากรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจัดโครงการตลาดสินค้าผู้สูงอายุ (แผนต่อเนื่อง 3 ปี : 2557-2559) โดยผ่านการจัดกิจกรรมครบวงจรในตลาดเป้าหมาย สวีเดน อิตาลี(ยุโรป)และญี่ปุ่น ผ่านการจัดสัมมนาให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อขยายตลาดส่งออกสินค้าสำหรับผู้สูงอายุเน้นการดำเนินการให้ความรู้ข้อมูลแนวโน้มความต้องการสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อการพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดเป้าหมายและโอกาสทางการค้า
             
ทั้งนี้จากสถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ ของอิตาลีรายงานสถิติผู้สูงอายุในอิตาลีว่า มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มีจำนวนถึง 12.2 ล้านคน(ปี 2556 จำนวนประชากร 60 ล้านคน) โดยเฉลี่ยอายุยืนขึ้นทั้งหญิงและชาย โดยหญิงมีอายุ 84.5 ปี และชาย 79.4 ปี รวมถึงข้อมูลจากสถาบันฯพบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการคุณภาพและสินค้าที่มีแนวโน้มเริ่มขาดแคลน อาทิ รถเข็น ไม้เท้า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า อาหาร(เคี้ยวง่าย) เป็นต้น

สถาบันฯเห็นว่า ในฐานะที่ประเทศไทยมีชื่อเสียงในการผลิตสินค้าได้ประณีต มีคุณภาพดีจะสามารถผลิตสินค้าป้อนตลาดได้ ประกอบกับผู้สูงอายุมีเงินออมและต้องการเป็นที่ยอมรับของสังคมต้องการซื้อสินค้าเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีสะดวกขึ้น ขณะที่สินค้ากลุ่มนี้ยังขยายไปใช้กับผู้พิการซึ่งมีโอกาสทางการตลาดสูง เนื่องจากไม่เสียภาษีนำเข้า
   
“ในช่วง 1-4 กรกฎาคม 57 จะจัดสัมมนาและให้คำแนะนำสินค้าผู้สูงอายุในตลาดอิตาลีและยุโรป คาดว่าผู้ผลิต ผู้ส่งออกจะปรับเปลี่ยนแนวทางการออกแบบรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้บริโภคในต่างประเทศ โอกาสทางการตลาดและช่องทางการจำหน่าย ทำให้ผู้ผลิตผู้ส่งออกของไทยสามารถผลิตสินค้าได้เป็นตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดได้อย่างเหมาะสมโดยเน้นสินค้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว (เช่น ไม้เท้า รถเข็นไฟฟ้า) สินค้าที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เก้าอี้ (เหล็ก/พลาสติก) สินค้าของใช้ที่ทำด้วยพลาสติก รถจักรยาน/สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้ารถบรรทุกเล็ก เฟอร์นิเจอร์ (ไม้ เก้าอื้ทำด้วยหนัง/ผ้า โต๊ะ/เตียงอลูมิเนียม) เครื่องจักรเครื่องจักรกลต่างๆ ที่ใช้ในหุ่นยนต์/อุปกรณ์”

กรมฯได้รับเชิญนายเดวิด ปิเปอร์โน่(Davide Piperno)ผู้เชี่ยวชาญนักออกแบบสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีความรู้ด้านการตลาดประสบการณ์กับบริษัทต่างๆ กว่า 9 แห่ง เป็นเวลากว่า 30 ปีรวมทั้งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยบารี ด้านวิสัญญีแพทย์ และแพทย์ทางกายภาพบำบัดจะเดินทางมาเป็นวิทยากรให้กับกรมฯ ที่คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 100 ราย พร้อมทั้งให้คำแนะนำแนวทางการพัฒนาสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นรายบริษัท (5 บริษัท) หลังจากนั้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ผู้เชี่ยวชาญจะเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานที่ต้องการรับคำปรึกษา (2 บริษัท)
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
วันที่ลงข่าว : 11 มิ.ย. 2557
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting