หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
เเถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2562"

นายธนวรรธน์  พลวิชัย  ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลการสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือนเมษายน 2562 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่2 จากระดับ 80.6 มาอยู่ที่ระดับ 79.2 ซึ่งต่ำสุดในรอบ16 เดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2561  สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกการส่งออกที่ยังติดลบในเดือนมีนาคมและสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และแม้ว่าค่าเงินบาทไทยในเดือนเมษายนจะอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 31.8 บาทต่อดอลล่าสหรัฐ แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคค่าบาทไทยยังคงแข็งค่าทำให้รายได้จากการส่งออกในรูปเงินบาทลดลงประกอบกับการขยายตัวของการท่องเที่ยวที่ติดลบสินค้าเกษตรบางรายการยังทรงตัวสูงเช่นข้าวเปลือกเจ้าข้าวหอมมะลิและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยกเว้นปาล์มน้ำมันที่ยังเป็นตัวฉุดให้เศรษฐกิจภาคใต้อยู่ในช่วงขาลงจึงทำเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ไม่โดดเด่นสะท้อนได้จากตัวเลขเงินเฟ้อ 4 เดือนขยายตัวร้อยละ 0.86 แสดงให้เห็นกำลังซื้อของประชาชนที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

        นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความไม่แน่ใจต่อสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งดัชนีความเหมาะสมทางการเมืองในปัจจุบันปรับและในอนาคตตัวลดลงค่อนข้างรุนแรงซึ่งต่ำสุดในรอบ 58 เดือนนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557เห็นได้จากหลังมีการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 ดังนั้นจึงทำให้การใช้จ่ายของภาคประชาชนชะลอตัวลงและคาดว่าจะต่อเนื่องไปถึงเดือนมิถุนายนดังนั้นหอการค้าไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ3.2-3.3 

        ทั้งนี้ หอการค้าไทยคาดว่าเศรษฐกิจไทยยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.8 - 4 ภายใต้สมมุตฐานคือการที่กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมสำเร็จซึ่งจะนำมาสู่การสรรหานายกรัฐมนตรี  นโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งการลดหย่อนภาษีและการโอนเงินเข้าบัตรสวัสดิการแก่งรัฐกว่า20,000 ล้านบาทคาดว่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ให้ขยายตัวได้รัอยละ 0.3 

        หากกกต. ประกาศผลการเลือกตั้งได้ในเดือนพฤษภาคมและการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปตามกรอบที่วางไว้จะดึงให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเปลี่ยนไปในทิศทางขาขึ้น แต่หากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ หรือเกิดความไม่แน่นอนทางการเมืองก็อาจจะส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง และมีโอกาสทำให้เศรษฐกิจไทยโตใกล้เคียงร้อยละ 3.5 หรือมีโอกาสที่จะขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับสถานกาณ์ทางการเมือง

แหล่งที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ลงข่าว : 2 พ.ค. 2562
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting