นายธนวรรธน์ ระบุว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงมากที่สุด คือ การเมือง สะท้อนจากดัชนีทางการเมืองที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับต่ำสุดรอบ 62 เดือน หรือ 5 ปี ซึ่งถือว่าเป็นความเปราะบางในมุมมองประชาชน ทั้งการที่ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาล และเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้ประชาชนไม่มั่นใจว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้หรือไม่
นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมีความเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้าและกำลังซื้อของประชาชนยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนัก ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยประเมินว่า ประชาชนจะยังระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้นหากสามารถจัดตั้ง ครม.ได้ภายในเดือนกรกฎาคม ขอให้รัฐบาลดำเนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เติมเงินอัดฉีดงบประมาณเข้าระบบ ดูแลค่าเงินบาทและใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังคงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะขยายตัวได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ส่งการส่งออกจะขยายตัวประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามยังขอรอดูความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลและการประกาศนโยบานเศรษฐกิจ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจจะมีการปรับประมาณการณ์ใหม่ในเดือนสิงหาคมนี้