ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ตัวเลข MPI ดังกล่าว หดตัวมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า MPI ใน เดือนก.ย. จะลดลง 0.05% และเมื่อเทียบรายเดือน MPI เดือน ก.ย. ลดลง 0.67% จากเดือน ก่อนหน้า MPI ที่ลดลง ในเดือนก.ย.เป็นผลจาก อุตสาหกรรมยานยนต์, อาหารทะเลกระป๋อง, เบียร์, เนื้อไก่แปรรูป และ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขณะที่ก่อนหน้านี้ สศอ.คาดว่า ดัชนี MPI ในปี 56 จะขยายตัวได้ประมาณ 0.5-1.0% จากที่ขยายตัว 2.51% เมื่อปีก่อน ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ย.56 อยู่ที่ 64.03 ลดลงจาก 65.49 ในเดือน ก.ย.55 นายสมชาย กล่าวว่า คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) ของไทย ในปีนี้มีโอกาสติดลบ จากที่เคยคาดไว่ว่า จะเพิ่มขึ้น 0.5-1.0% หลังฐานในปี 55 สูงผิดปกติ เนื่องจากมีการเร่งผลิตหลังน้ำท่วม และ ความต้องการซื้อจากคู่ค้าสำคัญชะลอลง ขณะที่สินค้าหลายตัวเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิต โดยช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-ก.ย.56)ดัชนี MPI ของไทย ลดลง 1.87% จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน