หน้าแรก
|
เกี่ยวกับหน่วยงาน
|
อัลบั้มภาพ
|
ติดต่อเรา
|
สมาชิก
สอท.ห่วง SME เมินรับหุ้นต่างชาติ ชี้รัฐอ่อนหัดด้านเจรจา แนะหารือเอกชนรับเออีซี
ส.อ.ท.ห่วง SME ไม่เปิดใจรับร่วมทุนต่างชาติ มีจุดอ่อนไทยอ่อนภาษา ข้อมูลเชิงลึกอ่อนแอ หวั่นเปิดเออีซีจริงขยายการลงทุนลำบาก ระบุรัฐไม่มีความถนัดพิจารณาต่อรองขยายเวลาลดภาษีสินค้า แนะควรหารือเอกชน พร้อมย้ำกลุ่มผู้ชุมนุมเคลื่อนมวลชนปิดล้อมสถานที่ราชการ กระทบการทำธุรกรรมของภาคธุรกิจ
นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในงานเสวนา อุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า มีความเป็นห่วงกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ต่อการเปิดเออีซี เนื่องจากเอสเอ็มอียังไม่เปิดใจรับการร่วมมือหรือร่วมทุนกับนักลงทุนต่างชาติ เพราะคุ้นเคยกับการทำธุรกิจเฉพาะในประเทศเท่านั้น ซึ่งในอนาคตการร่วมมือกับนักลงทุนที่เป็นคนพื้นเมืองในประเทศนั้นๆ จะเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคการเข้าไปค้าขายกับประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การเข้าไปลงทุนในประเทศสมาชิกเออีซีนั้น นักลงทุนไทยจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นที่ของแต่ละประเทศว่าเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองหรือไม่ด้วย ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดต้นทุนการค้าที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
นายนิลสุวรรณ ลีลารัศมี คณะกรรมการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว่า ภายหลังการเปิดเออีซีอย่างเป็นทางการทุกประเทศจะต้องมาเจรจาตกลงกันว่าจะยอมลดภาษีให้เป็นศูนย์ได้ตัวใดบ้าง และกำหนดกรอบการลดภาษีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ซึ่งภาคเอกชนมองว่าภาครัฐไม่มีความถนัดในเรื่องดังกล่าว จำเป็นที่รัฐจะต้องร่วมมือกับเอกชนเพื่อกำหนดกรอบร่วมกัน
สำหรับสิ่งที่เป็นห่วงคือ 1.คนไทยไม่ค่อยสนใจการมีหุ้นส่วนเพื่อขยายกิจการ 2.ระบบข้อมูลไทยไม่เจาะลึกเพียงพอ ซึ่งจะไม่ทราบความเคลื่อนไหวว่าประเทศใดเริ่มเข้ามาลงทุนแข่งขันในไทยบ้าง และ 3.ห่วงคนไทยยังไม่เก่งเรื่องภาษาอังกฤษ ซึ่งนักธุรกิจไทยจะต้องเรียนรู้ภาษาพื้นเมืองของประเทศที่เข้าไปลงทุนมากกว่า หรือร่วมทุนกับนักลงทุนประเทศเป้าหมายเพื่อช่วยสื่อสารทางธุรกิจในประเทศนั้นๆ ได้อีกทางหนึ่ง
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การเปิดเออีซีนั้น การที่ไทยจะเข้าไปลงทุนประเทศใดก็ตาม ควรมีส่วนร่วมในการสร้างสาธารณูปโภคในประเทศนั้นๆ และภาครัฐต้องปรับภาพลักษณ์สถานที่ด่านศุลกากรให้สวยงามเทียบเท่าประเทศอื่น รวมทั้งต้องเจรจากับประเทศสมาชิกให้เปิดรับรถขนส่งสินค้าเข้าประเทศให้มากขึ้น
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวยอมรับว่า มีความกังวลกับการยกระดับการชุมนุม โดยการบุกยึดกระทรวงต่างๆ ทั้ง 14 แห่งของกลุ่มม็อบขับไล่รัฐบาล เนื่องจากจะกระทบต่อการทำธุรกรรมของภาคเอกชนที่ต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ และมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างชาติบ้างแล้ว เพราะขณะนี้เริ่มชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงผลกระทบต่อการส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกปี 2557 ซึ่งทางออกของการแก้ปัญหาการเมืองไทย คือยุบสภาของรัฐบาล หรือให้นายกรัฐมนตรีลาออก.
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ไทยโำำพสต์
วันที่ลงข่าว :
28 พ.ย. 2556
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล:
[email protected]
หน้าแรก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข่าวและกิจกรรม
งานวิจัย
บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ
ดัชนี
หอการค้าโพลล์
AEC
สถิติ
ดาวน์โหลด
อัลบั้มภาพ
ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting