หน้าแรก | เกี่ยวกับหน่วยงาน | อัลบั้มภาพ | ติดต่อเรา | สมาชิก
 
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Modern Trade ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2562
 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการโมเดิร์นเทรด ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ว่า ดัชนี Modern Trade อยู่ที่ระดับ 51.5 ปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาส 4 ของปี 2561 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.1 แบ่งเป็นดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 52.1 ลดลงจากในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2561 ที่ระดับ 54.1 และดัชนีในอนาคตอยู่ที่ระดับ 50.9 เพิ่มขึ้นจากในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2561 ที่ระดับ 50.1 โดยวิเคราะห์ดัชนีจากปัจจัย 6 ด้าน ได้แก่ รายได้จากการขายหรือให้บริการ, กำไรจากการขายหรือให้บริการ, จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการ, ราคาขายสินค้าโดยรวมเฉลี่ย, การจ้างงาน, ต้นทุนการดำเนินงาน

ทั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค มองว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจด้านบวก คือ การประกาศจัดการเลือกตั้งทำให้มีบรรยากาศคึกคัก, จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาอย่างต่อเนื่อง, เทศกาลปีใหม่และตรุษจีนส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน, นโยบายและมาตรการสวัสดิการของรัฐ อาทิ บัตรคนจนหรือช็อปช่วยชาติ, นโยบายลดภาษีเงินได้นิติบุคคล, มาตรการฟรีวีซ่าขยายเวลาเพิ่ม ขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจด้านลบคือ สถานการณ์ฝุ่นพีเอ็ม 2.5, สถานการณ์ภัยแล้งที่มาเร็วและรุนแรง, ราคาน้ำมันมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น, อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น, ราคาสินค้าเกษตรยังอยู่ในระดับไม่สูงมาก ส่งผลต่อระดับรายได้ของครัวเรือน, ภาระหนี้สินของครัวเรือน, สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้การบริโภคยังไม่ขยายตัว

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบธุรกิจมองว่ากำลังประสบปัญหาอยู่ทั้งหมด 4 ด้านคือ เศรษฐกิจที่ยังเติบโตไม่ทั่วถึง, กำลังซื้อที่ยังกลับมาไม่เป็นปกติ, สถานการณ์ต้นทุนของสินค้าที่อยู่ในระดับสูง, ปัญหาในการประมาณการเนื่องจากมีผลกระทบจากเรื่องการเมืองต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งบวกและลบ จึงมีข้อเสนอแนะที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจในการบริโภคของภาคเอกชนรวมถึงผู้บริโภค การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานไม่ได้สูงเกินไปและไม่เกิดการผันผวนด้านราคาสินค้า การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และต้องการให้รัฐบาลมุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ทำให้มีกระแสเงินไหลเข้ามาในการจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนมากขึ้น

“โดยเชื่อว่าหลังจากมีรัฐบาลใหม่ทุกอย่างจะขับเคลื่อนไปได้ง่ายขึ้น รวมถึงบรรยากาศหลายอย่างในประเทศจะดีขึ้น สิ่งที่ต้องเร่งรัดให้รัฐบาลสนับสนุนคือ การกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้สินค้าเกษตรมากขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เพราะนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกมารัฐบาลก็มีการช่วยเหลืออยู่แล้วในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องพยายามให้มีการหมุนเวียนรายได้เพิ่มขึ้นด้วย”
แหล่งที่มา : มติชน
วันที่ลงข่าว : 8 พ.ค. 2562
« กลับ
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2697-6341
โทรสาร: 0-2697-6342
อีเมล: [email protected]
หน้าแรก   เกี่ยวกับหน่วยงาน  ข่าวและกิจกรรม  งานวิจัย  บทวิเคราะห์สถานการณ์ >
รายงานภาวะเศรษฐกิจ  ดัชนี  หอการค้าโพลล์  AEC  สถิติ   ดาวน์โหลด  อัลบั้มภาพ  ติดต่อเรา
ท่านสามารถนำเนื้อหาไปใช้แสดงดัดแปลงเผยแพร่ โดยต้องอ้างอิงที่มา
ห้ามใช้เพื่อการค้า และต้องแนบสัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันนี้ไปกับงานที่เผยแพร่ต่฿เว้นแต่จะระบุเป็นอย่างอื่น
Copyright © 2013 The Center for Economic and Business Forecasting